วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


 ประวัติความเป็นมาของประเพณีบุญบั้งไฟ


ภาพงานบุญบั้งไฟ

คติที่มาเกี่ยวกับประเพณีบุญบั้งไฟมีอยู่หลายสาเหตุ ดังนี้
1.             สาเหตุจากความแห้งแล้ง
2.             พืันฐานทางความเชื่อเรื่องผี
สาเหตุจากความแห้งแล้ง

            ความเชื่อด้านประเพณีบุญบั้งไฟของชาวอีสานมี มานานเท่าใดไม่ปรากฏ ใน ความเชื่อของชาวอีสานและภูมิปัญญาระดับชาวบ้านเชื่อว่าเป็นวิธีการหรือขนบ การสู้ภัยแล้งวิธีการหนึ่งยึดถือปฏิบัติมานานจนกลายเป็นประเพณีในจารีตสิบ สองเดือนที่ชาวอีสานปฏิบัติกัน ทั้งนี้เนื่องจากความแห้งแล้งของชาวอีสานซึ่งเป็น ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่อเนื่องตลอดมาในแต่ละแทบทุกพื้นที่ ผลพวงที่เกิดจากภัยแล้ง ดัง เช่นที่ (จารุวรรณธรรมวัตร ม.ป.ป.:32) ได้บรรยายว่า ความแห้งแล้งในระดับหมู่บ้านเป็นทุกข์อย่างมากมาย กล่าวคือ ความหิวโหย อด อยาก และโรคระบาด ความทุกข์ทั้งหลายมิได้บังเกิดจำเพาะมนุษย์เท่านั้น พืช สัตว์ ก็ ทุกข์ทนและทนทุกข์ถ้วนหน้ากัน ทั้งนี้เพราะการทำนาซึ่งเป็นอาชีพหลัก อาศัยเฉพาะน้ำฝนเท่านั้น ถ้า ปีใดเกิดฝนแล้งหรือฝนตกทิ้งช่วง ข้าวกล้าที่ปลูกไว้ก็จะเกิดความเสียหายโดยทั่วไป มีผญามากมายหลายบทคร่ำครวญไว้อย่างน่าเวทน   ส่วนความแห้งแล้งที่เกิดในระดับชุมชนนั้นก็ไม่ยิ่งย่อ นกว่าระดับหมู่บ้านหรือชนบทในอดีตและปัจจุบันประชาชนต้องเสียภาษีให้แก่รัฐ ถ้าเกิดภาวะฝนแล้งระบบเศรษฐกิจ ไม่หมุนเวียนไปตามวัฏจักรการสาธารณูปโภคขาดแคลน ปัญหา อื่น ๆก็ตามมา ภาวการณ์ว่างงาน ภาวการณ์ ขาดแคลนสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ การรับ บริจาคจากรัฐและอื่น ๆ ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเช่นเดียวกันกับ สังคมชนบท ดังนั้น ความคิดและความเชื่อที่หล่อหลอม มาจากอดีตก็จะถูกนำมาใช้ในสังคมเมืองบางพื้นที่ เช่นการจัดประเพณีบุญบั้งไฟ ในพื้นที่หลายอำเภอและหลายจังหวัด เป็นประเพณีโดยสังคมเมืองเป็นศูนย์รวม ตัวอย่างการจัดบุญบั้งไฟเป็นงานบุญและ เทศกาลประจำปีของจังหวัดยโสธร การจัดบุญบั้งไฟที่จังหวัดมหาสารคามและบั้งไฟใน พื้นที่อื่น ๆ  ความ แห้งแล้งของพื้นที่อีสาน กาพย์เซิ้งบั้ง ไฟหลายสำนวนให้แนวคิดเกี่ยวกับความรู้สึกที่เป็นจุดให้เกิดวิกฤตการทางการ เมือง เช่น สถานการณ์ เกิดผีบุญในภาคอีสาน ซึ่งเป็นผลพวงหนึ่งที่มาจากภัยแล้งในภาคอีสาน  ความแห้งแล้งบางพื้นที่ได้ เกิดขึ้นหลายปีติดต่อกันจนผู้คนต้องอพยพย้ายถิ่นฐานใหม่ บางครอบครัวอพยพย้ายหลบภัยแล้งไปชั่วคราวแล้วกลับมา ใหม่ บาง ครอบครัวอพยพไปไม่กลับมาเลย ส่วนที่ยังอผ่ต่อไปก็จะหาวิธี การเพื่อเอาชนะภัยแล้งโดยภูมิปัญญาระดับชาวบ้าน ส่วนใหญเป็นความเชือที่ได้รับการถ่ายทอดเป็นขนบประเพณี คือ การขอฝนนั้นเอง  ประเพณีการขอฝนที่ปฏิบัติกันในหมู่ชาวอีสาน นั้นมีหลายวิธีด้วยกัน คือ การขอฝนโดยการทำเซียงข้อง หรือเต้าแม่นางข้อง การทำพิธีแห่นางแมวหรือตำนานแม่นางแมว การทำพิธีแห่แม่นางด้งหรือเต้าแม่นางด้งการทำ พิธีโยนครกโยนสาก การทำพิธี เเห่ข้าวพันก้อน การเทศน์พญูาคันคาก การสวดคาถาปลาค่อ การบ๋านางธรณี และการทำนญูบั้ง ไฟ เป็นต้น  เมื่อ ถึงเทศกาลเดือนหกหรือบุญูบั้งไฟ ชาวบ้านก็จะร่วมกันทำพิธีกรรมทางศาสนาและความสนุกสนานรวมพลังกันในหมู่บ้านดังกาพย์เซิ้งบั้งไฟตอนหนึ่งที่เตือนให้ชาว บ้านร่วมพิธีกรรมงานบุญบั้งไฟ 
พืันฐานทางความเชื่อเรื่องผี

           สังคมอีสานแต่เดิมนั้นมีพื้นฐานจากความเชื่อในเรื่องธรรมชาตินิยม คือ เชื่อถือในเรื่องผี สาง ต้นโพธิ์ ภูเขา แม่น้ำ เจ้าที่ ฯลฯ ซึ่งความเชื่อมีขอบเขตกว้างขวางมาก ไม่เพียงแต่หมายถึงความเชื่อในดวงวิญญาณทั้งหลาย ภูตผี คาถาอาคม โชคลาง ไสยศาสตร์ต่าง ๆ ยังรวมไปถึงปรากฏการณ์ของธรรมชาติที่มนุษย์ยอมรับนับถือ เช่น ปรากฎการณ์ฟ้าร้อง ฟ้าผ่าต้นไม้ใหญ่ ฯลฯ เป็นต้น
       ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว โดยมีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทางพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ ช่วงเวลาของประเพณีบุญบั้งไฟคือเดือนหกหรือพฤษภาคมของทุกปี
       ประเพณีบุญบั้งไฟมีมาแต่ครั้งไหนยังหาหลักฐานที่แน่ชัด มีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับความเป็นมาของประเพณีบุญบั้งไฟในแง่ต่างๆ ไว้ดังนี้
ความเชื่อของชาวบ้านกับประเพณีบุญบั้งไฟ
       ชาวบ้านเชื่อว่ามีโลกมนุษย์ โลกเทวดา และโลกเทวดา มนุษย์อยู่ใต้อิทธิพลของเทวดา การรำผีฟ้าเป็นตัวอย่างที่แสดงออกทางด้านการนับถือเทวดา และเรียกเทวดาว่า แถนเมื่อถือว่ามีแถนก็ถือว่า ฝน ฟ้า ลม เป็นอิทธิพลของแถน หากทำให้แถนโปรดปราน มนุษย์ก็จะมีความสุข ดังนั้นจึงมีพิธีบูชาแถน การจุดบั้งไฟก็อาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่แสดงความเคารพหรือส่งสัญญาณความภักดีไปยังแถน ชาวอีสานจำนวนมากเชื่อว่าการจุดบั้งไฟเป็นการขอฝนจากพญาแถน และมีนิทานปรัมปราเช่นนี้อยู่ทั่วไป แต่ความเชื่อนี้ยังไม่พบหลักฐานที่แน่นอน นอกจากนี้ในวรรณกรรมอีสานยังมีความเชื่ออย่างหนึ่งคือ เรื่องพญาคันคาก หรือคางคก พญาคันคากได้รบกับพญาแถนจนชนะแล้วให้พญาแถนบันดาลฝนลงมาตกยังโลกมนุษย์
งานแห่บั้งไฟ ประเพณีบุญบั้งไฟ

ความหมายของบั้งไฟ



       คำว่า บั้งไฟในภาษาถิ่นอีสานมักจะสับสนกับคำว่า บ้องไฟแต่ที่ถูกนั้นควรเรียกว่าบั้งไฟดังที่ เจริญชัย ดงไพโรจน์ ได้อธิบายความแตกต่างของคำทั้งสองไว้ว่า บั้งหมายถึง สิ่งที่เป็นกระบอก เช่น บั้งทิง สำหรับใส่น้ำดื่ม หรือบั้งข้าวหลาม เป็นต้น

การเอาหมื่อใส่กระบอกบั้งไฟ
        ส่วนคำว่า บ้อง หมายถึง สิ่งของใดๆ ก็ได้ที่มี 2 ชิ้น มาสวมหรือประกอบเข้ากันได้ ส่วนนอกเรียกว่า บ้อง ส่วนในหรือสิ่งที่เอาไปสอดใสจะเป็นสิ่งใดก็ได้ เช่น บ้องมีด บ้องขวาน บ้องเสียม บ้องวัว บ้องควาย ดังนั้น คำว่า บั้งไฟ ในภาษาถิ่นอีสานจึงเรียกว่า บั้งไฟ ซึ่งหมายถึงดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง มีหางยาวเอาดินประสิวมาคั่วกับถ่านไม้ตำให้เข้ากันจนละเอียดเรียกว่า หมื่อ (ดินปืน) และเอาหมื่อนั้นใส่กระบอกไม้ไผ่ตำให้แน่นเจาะรูตอนท้ายของบั้งไฟ เอาไผ่ท่อนอื่นมัดติดกับกระบอกให้ใส่หมื่อโดยรอบ เอาไม้ไผ่ยาวลำหนึ่งมามัดประกบต่อออกไปเป็นหางยาว สำหรับใช้ถ่วงหัวให้สมดุลกัน เรียกว่า บั้งไฟในทัศนะของผู้วิจัย บั้งไฟ คือการนำเอากระบอกไม้ไผ่ เลาเหล็ก ท่อเอสลอน หรือเลาไม้อย่างใดอย่างหนึ่งมาบรรจุหมื่อ (ดินปืน) ตามอัตราส่วนที่ช่างกำหนดไว้แล้วประกอบท่อนหัวและท่อนหางเป็นรูปต่างๆ ตามที่ต้องการ เพื่อนำไปจุดพุ่งขึ้นสู่อากาศ จะมีควันและเสียงดัง บั้งไฟมีหลายประเภท ตามจุดมุ่งหมายของประโยชน์ในการใช้สอย
ในทางศาสนาพุทธกับประเพณีบุญบั้งไฟ 
                มีการฉลองและบูชาในวันวิสาขบูชากลางเดือนหก มีการทำดอกไม้ไฟในแบบต่างๆ ทั้งไฟน้ำมัน ไฟธูปเทียนและดินประสิว มีการทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา 


บั้งไฟขนาดเล็ก
ส่วนประกอบของบั้งไฟ
      เลาบั้งไฟ  เลาบั้งไฟคือส่วนประกิบที่ทำหน้าที่บรรจุดินปืน มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกกลมยาว มีความยาวประมาณ 1.5 - 7 เมตร ทำด้วยลำไม้ไผ่เล้วใช้ร้วไม้ไผ่ (ตอก) ปิดเป็นเกลียวเชือกพันรอบเลาบั้งไฟอีกครั้งหนึ่งให้แน่น และใช้ดินปืนที่ชาวบ้านเรียกว่า"หมือ" อัดให้แน่นลงไปในเลาบั้งไฟ ด้วยวิธีใช้สากตำแล้วเจาะรูสายชนวน เสร็จแล้วนำเลาบั้งไฟ ไปมัดเข้ากับส่วนหางบั้งไฟ ในสมัดต่อมานิยมนำวัสดุอื่นมาใช้เป็นเลาบั้งไฟแทนไม้ไผ่ ได้แก่ ท่อเหล็ก ท่อพลาสติก เป็นต้น เรียกว่าเลาเหล็กซึ่งสามารถอัดดินปืนได้แน่นและมีประสิทธิภาพในการยิงได้สูงกว่า
       หางบั้งไฟ  หางบั้งไฟถือเป็นส่วนสำคัญทำหน้าที่คล้ายหางเสือ ของเรือคือสร้างความสมดุลย์ให้กับบั้งไฟคอยบังคับทิศทางบั้งไฟให้ยิงขึ้นไปในทิศทางตรงและสูง บั้งไฟแบบเดิมนั้น ทำจากไม้ไผ่ทั้งลำ ต่อมาพัฒนาเป็นหางท่อนเหล็กและหางท่อนไม้ไผ่ติดกันหางท่อนเหล็กมีลักษณะเป็นท่อนกลม ทรงกระบอกมีความยาวประมาณ 8-12 เมตร ทำหน้าท่เป็นคานงัดยกลำตัวบั้งไฟชูโด่งชี้เอียงไปข้างหน้าทำมุมประมาณ 30-40 องศากับพื้นดิน โดยบั้งไฟจะยื่นไปข้างหน้ายาวประมาณ 7-8 เมตร ปลายหางด้านหนึ่งตั้งอยู่บนฐานที่ตั้งบั้งไฟ
       ลูกบั้งไฟ  เป็นลำไม้ไผ่ที่นำมาประกอบเลาบั้งไฟโดยมัดรอบลำบั้งไฟ บั้งไฟลำหนึ่งจะประกอบด้วยลูกบั้งไฟประมาณ 8-15 ลูก ขึ้นอยู่กับขนาดของบั้งไฟ เดิมลูกบั้งไฟมีแปดลูกมีชื่อเรียกเรียงตามลำดับคู่ขนาดใหญ่ไปหาคู่ที่มีขนาดเล็กกว่าได้แก่ ลูกโอ้ ลูกกลาง ลูกนางและลูกก้อย ลูกบั้งไฟช่วยให้รูปทรงของบั้งไฟกลมเรียวสวยงาม นอกจากนี้ลูกบั้งไฟยังเป็นพื้นผิวรองรับการเอ้หรือการตกแต่งลวดลายปะติดกระดาษ


ประเพณีบุญบั้งไฟ
       ลายบั้งไฟ : ใช้ลายศิลปไทย คือ ลายกนก อันเป็นลายพื้นฐานในการลับลายบั้งไฟ โดยช่างจะนิยมใช้กระดาษดังโกทองด้านเป็นพื้นและสีเม็ดมะขามเป็นตัวสับลาย เพื่อให้ลายเด่นชัดในการตกแต่งเพื่อให้ความสวยงาม
       ตัวบั้งไฟ : มีลูกโอ้จะใช้ลายประจำยาม ลายหน้าเทพพนม ลายหน้ากาล ลูกเอ้ใช้ลายประจำยาม ก้ามปูเปลว และลายหน้ากระดาน ฯลฯ
       กรวยเชิง : เป็นลวดลายไทยที่เขียนอยู่เชิงยาบที่ประดับพริ้วลงมาจากช่วงตัวบั้งไฟ
       ยาบ : เป็นผ้าประดับใต้เลาบั้งไฟ จะสับลายใดขึ้นอยู่กับช่างบั้งไฟนั้น เช่น ลายก้านขูดลายก้าน
ดอกใบเทศ
       ตัวพระนาง : เป็นรูปลักษณ์สื่อถึงผาแดงนางไอ่ หรือตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ พระลักษณ์ พระราม เป็นต้น
      กระรอกเผือก : ท้าวพังคี แปลงร่างมาเพื่อให้นางไอ่หลงใหล
      ปล้องคาด : ลายรักร้อย ลายลูกพัดใบเทศ ลายลูกพัดขอสร้อย เป็นต้น
      เกริน : เป็นส่วนที่ยื่นออกสองข้างของบุษบก เป็นรูปรอนเบ็ดลายกนก สำหรับตั้งฉัตรท้ายเกริน ราชรถประดับส่วนท้ายของหางบั้งไฟ
      บุษบก : เป็นองค์ประกอบไว้บนราชรถ เพื่อสมมุติให้เป็นปราสาทผาแดงนางไอ่
      ต้างบั้งไฟ : ลายกระจังปฏิญาณ ลายก้านขด ลายพุ่มข้าวบิณฑ์
      ลายประกอบตกแต่งอื่นๆ : ลายกระจังตั้ง กระจังรวน กระจังตาอ้อย ลายน่องสิงห์ บัวร่วน กลีบขนุน

ประเภทของบั้งไฟ
1. บั้งไฟโหวด
        บั้งไฟโบดหรือโหวดเป็นบั้งไฟขนาดเล็กตัวกระบอกจะยาวขึ้น ประมาณ 4-10 นิ้ว บรรจุหมื่อหนักประมาณ 1 ส่วน 8 ถึง 1 ส่วน 2 กิโลกรัม ใช้หางยาวประมาณ 1-4 เมตร มีกระบอกไม้ไผ่เล็กๆ มัดวางรอบตัวบั้งไฟ นิยมทำประกอบกันในบั้งไฟใหญ่ (บั้งไฟหมื่น, บั้งไฟแสน) ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมทำ เพราะไม่มีช่าง

2. บั้งไฟม้า
         บั้งไฟชนิดนี้เป็นบั้งไฟขนาดเล็กจุดไปตามทิศทางที่กำหนดใช้เส้นลวดเป็นวิถีตรึงไปยังเป้าหมายที่ต้องการ ลักษณะทั่วไปเป็นบั้งไฟที่ทำจากกระบอกไม้ไผ่ 1 ปล้อง ขนาดแล้วแต่ต้องการ โดยทั่วไปเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 นิ้ว ยาวประมาณ 1 ฟุตทางภาคกลางและภาคอีสานเรียกว่า ลูกหนูคล้ายม้าที่กำลังวิ่ง ถ้าติดรูปอะไรก็เรียกชื่อไปตามนั้น เป็นคนขี่ม้า รูปวัว แล้วแต่จะทำรูปอะไร บางครั้งภาคเหนือเรียกว่า บอกไฟยิง
3. บั้งไฟช้าง

        บั้งไฟชนิดนี้ไม่มีหาง มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่ากระโพกหรือตะโพก เวลาจุดไม่ต้องการให้พุ่งขึ้นไปแต่ต้องการมีเสียงร้องคล้ายกับช้างร้อง วิธีทำบั้งไฟให้ใช้กระบอกไม้ไผ่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดยาวเพียงป้องเดียวให้มีข้อปิดทั้ง 2 ด้าน ทุบไม้ไผ่ให้แตกเล็กน้อย เจาะรู เพื่อบรรจุหมื่อแล้วต่อชนวนเข้ารูแท่งหมื่อทำจากหมื่อถ่าน 3-4 อัดลงในไม้ไผ่ขนาดเล็กให้แน่น แล้วผ่าเอาแท่งหมื่อออกมาคล้ายข้าวหลาม ให้ได้แท่งประมาณ 3 นิ้ว การจุดนั้นนิยมต่อพ่วงชนวนบั้งไฟใหญ่ เวลาจุดชนวนผ่าจะเกิดเสียงดังเหมือนเสียงช้างร้อง นิยมวางต่อกันเป็นช่วงๆ กระบอก ถ้าต้องการจะให้มีเสียงดังอย่างไรก็จะมีเทคนิคในการทำให้เกิดเสียงนั้นๆ

4. บั้งไฟแสน
         บั้งไฟชนิดนี้เป็นบั้งไฟขนาดใหญ่ที่สุด บรรจุดินปืนหนัก 120 กิโลกรัมขึ้นไป บั้งไฟขนาดนี้ทำยากที่สุดจะต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ เพราะบั้งไฟขนาดนี้หากแตกแล้วจะเป็นอันตรายมาก เพราะฉะนั้นก่อนทำบั้งไฟจะต้องมีพิธีกรรมบวงสรวงให้ถูกต้องตามหลักการทำบั้งไฟแสนเสียก่อนจึงจะลงมือทำ เมื่อตกบั้งไฟเสร็จเรียบร้อยแล้วจะมีการตกแต่งประดับประดาบั้งไฟ
5. บั้งไฟตะไล
        บั้งไฟชนิดนี้ก็คือบั้งไฟจินายขนาดใหญ่นั่นเอง มีความยาวประมาณ 9-12 นิ้ว รูปร่างกลมมีไม้บางๆ แบนๆ เป็นวงกลมครอบหัวท้ายบั้งไฟเมื่อพุ่งขึ้นสู่ฟ้าไปโดยทางขวาง

6. บั้งไฟตื้อ
         บั้งไฟตื้อหรือบั้งไฟกระแตนั่งตอ เป็นบั้งไฟขนาดเล็กมีหางสั้น วิธีทำ ตัดกระบอกไม้ไผ่ขนาด 1 นิ้วครึ่งยาวประมาณ 3 นิ้ว อัดหมื่อให้แน่นประมาณ 2 นิ้ว ใช้หมื่อถ่านสามหรือถ่านสี่อัดด้วยเถียดไม้ให้แน่น ต่อหางซึ่งทำจากไม้ไผ่ เหลาเป็นแท่งเล็กๆ ใช้เลื่อยตัดมุมข้อออกจนเห็นหมื่อ เจาะให้เป็นรูเล็กๆ แล้วติดชนวน เวลาจะจุดเอาหางเสียบลงในแท่นที่ตั้งพอให้ตั้งได้ จุดชนวนจากด้านบน บั้งไฟจะพุ่งและหมุนขึ้นสู่อากาศ เกิดเสียงดังตือๆ เวลาหมุนจะไม่ค่อยมีทิศทาง ใช้จุดในงานศพ เวลาจุดมีอันตรายมากไม่ค่อยนิยมทำกัน

7. บั้งไฟพลุ
         บั้งไฟพลุ เป็นบั้งไฟที่นิยมจุดในเทศกาลต่างๆ เช่น งานกฐิน งานบุญมหาชาติ หรือ งานเปิดกีฬา ฯลฯ เป็นบั้งไฟที่จุดแล้วทำให้เกิดเสียงดัง ในอดีตนิยมจุดในงานกฐิน เพื่อเป็นการบอกข่าวไปยังพี่น้องประชาชนทั่วไปให้ทราบ
       จากพงศาวดารเมืองยโสธรได้บันทึกไว้ว่า เมื่อราวๆ ปี พ.ศ. 2340 พระเจ้าวรวงศา (พระวอ) เสนาบดีเก่าเมืองเวียงจันทน์กับสมัครพรรคพวกเดินทางอพยพจะไปอาศัยอยู่กับเจ้านครจำปาศักดิ์ เมื่อเดินทางถึงดงผีสิงห์เห็นเป็นทำเลดี จึงได้ตั้งหลักฐานและสร้างเมืองที่นี่เรียกว่า บ้านสิงห์ท่าหรือ เมืองสิงห์ท่าต่อมาใน พ.ศ. 2357 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกฐานะบ้านสิงห์ท่าแห่งนี้ขึ้นเป็น เมืองยโสธรขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ มีเจ้าเมืองดำรงบรรดาศักดิ์เป็นพระสุนทรราชวงศา ในปี พ.ศ. 2515 ได้ยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร โดยประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 70 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2515 ได้แยกอำเภอยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอป่าติ้ว อำเภอเลิงนกทา และอำเภอกุดชุม ออกจากจังหวัดอุบลราชธานี และรวมกันเป็นจังหวัดยโสธร ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2515
         จังหวัดยโสธรมีเนื้อที่ประมาณ 4,161 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดในเขตอีสานตอนล่าง จังหวัดยโสธรแบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ คือ อำเภอเมืองยโสธร คำเขื่อนแก้ว มหาชนะชัย ป่าติ้ว เลิงนกทา กุดชุม ค้อวัง ทรายมูล และไทยเจริญ
       บุญบั้งไฟ นิยมทำกันในเดือนหก ถือเป็นประเพณีสำคัญที่จะขาดไม่ได้ เพราะตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ชาวอีสานมีความเชื่อว่า ถ้าปีใดไม่จัดงานบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดความแห้งแล้ง ไม่มีน้ำทำนา แต่ถ้าปีใดจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะตกต้องตามฤดูกาล เกิดความอุดมสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัย งานบุญบั้งไฟจึงถือเป็นงานประเพณี ประจำปีที่สำคัญของชาวอีสาน พอใกล้ถึงวันงานชาวอีสานไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็จะกลับบ้านไปร่วมงานบุญบั้งไฟซึ่งเป็นงานที่สร้างความรักความสามัคคีของคนท้องถิ่นเป็นอย่างดี
สรุปเหตุผลในการจัดงานบุญบั้งไฟ
3.             เพื่อขอฝนเมื่อเกิดภัยแล้ง
4.             สืบสานประเพณี
5.             ความเชื่อของชาวบ้าน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น